Slider[Style1]

Style2

Style3[OneLeft]

Style3[OneRight]

Style4

Style5[ImagesOnly]

Style6



เล็บ เป็นส่วนที่งอกออกมาจากผิวหนัง เป็นเซลที่ตายแล้ว มีส่วนประกอบหลักเป็นสารประเภทโปรตีนที่ชื่อว่า เคราติน (Keratin) เล็บที่ปกตินั้นจะมีสีชมพูอ่อนๆเสมอกัน เนื้อเล็บแข็งเรียบ ลื่น แต่บางครั้งเล็บอาจมีรูปร่างหรือสีผิดปกติได้

ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติหรือโรคภัยบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย ดังนี้

- เล็บขาวซีด อ่อน แบน และบุ๋ม : มักพบในคนที่เป็นโรคโลหิตจางซึ่งอาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก

- เล็บขาวเป็นแผ่นตรงกลาง : เป็นความผิดปกติที่พบในโรคตับ

- เล็บเป็นหลุม ขรุขระ ไม่เรียบเกลี้ยงเกลา : พบในโรคผิวหนังที่เรียกว่าสะเก็ดเงิน หรือเรื้อนกวาง

- เล็บหนากว้าง และโค้งมนตามลักษณะของปลายนิ้วที่โตขึ้นและมีสีออกม่วงคล้ำ : พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ (ลิ้นหัวใจรั่ว) โรคตับ และโรคท้องเสียเรื้อรัง

- เล็บเป็นดอกหรือจุดขาวๆ หรือเป็นเสี้ยวพระจันทร์ : แสดงว่ามีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยหนัก หรือขาดสารอาหารบางอย่างที่ทำให้เซลสร้างเล็บได้ไม่สมบูรณ์

- เล็บเหลือง : ถ้าเป็นบางเล็บบนนิ้วที่ถนัด อาจเป็นสารนิโคตินจากบุหรี่ที่มาเกาะเล็บที่ใช้คีบบุหรี่ หรือพบในโรคปอดบางชนิด โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต

- เล็บเปลี่ยนสีเป็นครึ่งขาวครึ่งชมพู : พบในโรคไตบางชนิด

- เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก : พบในโรคลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ โรคขาดวิตามินซี

- เล็บสีดำ : พบในโรคลำไส้ผิดปกติ มีจุดดำๆ ตามเนื้อเยื่อของลำไส้เยื่อบุปาก ริมฝีปาก ส่วนมากขาดวิตามินบี 12

- เล็บที่ออกสีเทาๆ หรือดำคล้ำ : พบในคนที่ได้รับตัวยาบางชนิดเช่น Phenolphthalein ในยาระบาย และยารักษาโรคมาลาเรีย

อยากรู้ว่าเป็นโรคอะไร สังเกตดูจากเล็บกันได้เลย

สีของเล็บ เกิดจากสีของเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังใต้เล็บ หน้าที่ของเล็บคือรักษารูปทรงของนิ้ว ปกป้องปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า เพื่อมิให้สามารถกระแทกกับสิ่งต่าง ๆ เล็บของผู้มีสุขภาพแข็งแรงจะต้องมีลักษณะเนื้อเล็บแข็ง ผิวเรียบเป็นมันเงา สีชมพูใสเล็กน้อย และไม่มสีสันสะดุดตา

อาการเล็บป่วย เล็บอาจเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้ง่าย เช่น เล็บแตก ขอบเล็บลอก เล็บเปลี่ยนสี เล็บขบ และการติดเชื้อต่างๆ ซึ่ง ที่พบบ่อยคือ เชื้อราที่เล็บ อาการสำคัญที่บ่งบอกว่าเริ่มเป็นเชื้อราที่เล็บ คือ ปลายเล็บหนาตัวขึ้นและมีผิวขรุขระ เมื่อมีอาการลามมากขึ้นเรื่อยๆ จะเข้าสู่ในเล็บ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดโรคได้ทุกเล็บ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราจากดิน สัตว์เลี้ยงตามบ้าน เช่น สุนัข แมว หรือไก่ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ควรทำความสะอาดเล็บให้ดี หรือป้องกันโดยการสวมถุงมือ

เรื่องเล็บไม่เล็กอย่างที่คิด

นอกจากเล็บจะมีอาการป่วยดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็อาจเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ขึ้นได้ ทั้งด้านอาการป่วยจากระบบภายใน และการขาดสารอาหาร โดยสังเกตจากลักษณะ สี และอาการผิดปกติ

1. ลักษณะเล็บบอกโรค คือบริเวณเล็บที่รูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม มีหลายลักษณะ ได้แก่

- เล็บที่มีรอยบุ๋ม มักพบในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวาง ผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

- เล็บเป็นร่อง หรือเป็นสันยาว อาจบอกให้ทราบถึงความผิดปกติของไต การเจริญเติบโตที่ชะงักงัน ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วยได้

- เล็บหนา อาจบ่งชี้ว่าระบบหลอดเลือดในร่างกายอ่อนแอ และโลหิตไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ

- เล็บแบน อาจบอกให้ทราบว่ากำลังเป็นโรคมือเย็นเท้าเย็น เพราะการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นไม่เพียงพอ

- เล็บบาง อาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังที่มีอาการคัน

- เล็บกว้างสีเหลี่ยม แสดงว่ามีความผิดปกติของฮอร์โมน

- เล็บเป็นลอนตามขวาง อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายแรง การขาดสารอาหารหรือฮอร์โมนผิดปกติ-เล็บเป็นเส้น หากมีลักษณะเป็นเส้นแดงตามยาวอาจเกิดโรคสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ หรือความดันโลหิตสูง และถ้าเกิดเส้นขาวตามขวางอาจเกิดจากโรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ โรคหัวใจ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอดจ์กินส์ หรือไตวาย

- เล็บรูปกลม เล็บที่ขึ้นตรงแล้วม้วนรอบปลายนิ้วเป็นสัญญาณของโรคปอด โรคลำไส้ หรือโรคหัวใจ

- ปลายเล็บงอน ส่อถึงอาการของโรคเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือตับ และแม้กระทั่งมะเร็งบางอย่างได้

2. สีเล็บบอกโรค คือ สีที่มีลักษณะผิดไปจากสีปกติของเล็บ อาจบอกให้ทราบถึงโรคที่กำลังป่วย ได้แก่

- เล็บสีเขียวคล้ำ อาจกำลังป่วยเป็นโรคหืดรุนแรง โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบ

- เล็บเหลือง อาจบอกถึงอาการของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด โรควัณโรค หรือโรคหืด โรคตับ โรคไต หรือต่อมน้ำเหลือง หรือร่างกายขาดวิตามินอี

- เล็บสีน้ำเงิน หากกดบริเวณเล็บแล้วปล่อย เล็บยังคงเป็นสีน้ำเงินซีด อาจมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินโลหิต

- เล็บสีเทคนิค หากปลายเล็บเป็นสีน้ำตาลชมพู แต่โคนมีสีขาวอาจบอกอาการของโรคไตเสื่อม

- เล็บสีดำ พบในผู้ป่วยโรคลำไส้ผิดปกติ ซึ่งมีจุดดำๆ ตามเนื้อเยื่อของลำไส้ เยื่อบุปาก ริมฝีปาก

- เล็บสีเทา หรือดำคล้ำ พบในคนที่ได้รับยาบางชนิด เช่น Phenolphthalein ในยาระบายและยารักษาโรคมาลาเรีย

- เล็บสีขาว บ่งชี้ถึงความผิดปกติของตับและไตหรือโลหิตจาง และถ้าเป็นสีขาวซีด ควรระวังโรคตับอักเสบเรื้อรัง

3. อาการผิดปกติของเล็บบอกโรค คือลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของเล็บ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ได้แก่

- เล็บเป็นดอกขาว หากมีขึ้นติดต่อกันเป็นแนวตามขวางอาจส่อถึงอันตรายของโรคตับ ร่างกายขาดธาตุสังกะสี หรืออาการถูกสารพิษ เช่น สารหนู

- เล็บล่อน อาจบอกให้รู้ถึงอาการของโรคต่อมไทรอยด์ โรคเรื้อนกวาง หรือการอักเสบจากเชื้อรา

- เล็บขาวซีด อ่อน แบน และบุ๋มเหมือนช้อน มักพบในคนที่เป็นโรคโลหิตจางซึ่งอาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก

- เล็บหนากว้าง โค้งมนตามลักษณะของปลายนิ้วที่โตขึ้น และสีออกม่วงคล้ำ พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับ และโรคท้องเสียเรื้อรัง

- เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก พบในผู้ป่วยลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ โรคลักปิดลักเปิด

- โคนเล็บเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีแดง อาจชี้ให้ทราบว่ามีปัญหาของหัวใจ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ (pale blue) อาจได้รับพิษจากสารเงิน หรือมีปัญหาที่ปอด

- เล็บที่ขึ้นหลุดจากฐานเล็บ พร้อมกับมีจุดขาวปลายเล็บ บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพองหรือหลอดลมอักเสบ

4. เล็บบอกอาการขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารอาจแสดงออกมาให้เห็นจากเล็บ ได้แก่

- เล็บมีสีซีด บางลง เปราะ เป็นสัน ทำให้ฉีกขาดและบิ่นง่าย คืออาการของคนที่ขาดธาตุเหล็ก

- เล็บสีซีดขาว อาจขาดโปรตีนอย่างรุนแรง

- เล็บฉีกลอกเป็นสะเก็ด คือ อาการของคนที่ขาดกรดไลโนลิอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น

เห็นไหมว่าอาการต่างๆ ของเล็บจะสามารถสืบสาวไปถึงโรคบางโรคที่อาจเกิดขึ้นกับเราได้

เพียงหมั่นสำรวจเล็บของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อไม่แน่ใจก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างทันท่วงที



แหล่งข้อมูล...ชีวจิต ฉบับที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๐ 

About เว็บไซด์

This is a short description in the author block about the author. You edit it by entering text in the "Biographical Info" field in the user admin panel.
«
Next
บทความใหม่กว่า
»
Previous
บทความที่เก่ากว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

Post a Comment